Better Cotton Initiative โครงการนำร่องเพื่อส่งเสริมวิธีการปลูกฝ้ายและ ผ้าฝ้าย ที่ดีขึ้นของ WWF และ IKEA

30 มกราคม 2023
DOBBYTEX ADMIN

ฝ้ายเป็นพืชที่ไม่ใช่อาหารที่ทำกำไรได้มากที่สุดในโลก

ฝ้ายเป็นพืชที่ไม่ใช่อาหารที่ทำกำไรได้มากที่สุดในโลก…​ การผลิต ผ้าฝ้าย สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้คนได้มากกว่า 250 ล้านคนทั่วโลกและใช้แรงงานเกือบ 7% ของแรงงานทั้งหมดในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศอินเดีย, ปากีสถาน และประเทศจีน ฯลฯ

รู้หรือไม่? ว่าฝ้ายเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอันดับต้นๆ และเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจชั้นนำของโลก ที่มนุษย์นำเส้นใยธรรมชาติจากฝ้ายมาใช้ในการผลิตเป็น ผ้าฝ้าย เพื่อนำมาทำเป็นเสื้อผ้าหรือข้าวของเครื่องใช้ ตั้งแต่อุตสาหกรรมแฟชั่นไปจนถึงการตกแต่งบ้าน โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 33% ของเส้นใยทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตสิ่งทอ (ที่มา trvst.world)

เพราะฝ้ายเป็นที่ต้องการของผู้คนทั่วโลกอย่างกว้าง ไม่ว่าจะเป็น Thai Cotton หรือคอตตอนจากประเทศไหนก็ตาม แต่วิธีการผลิตฝ้ายส่วนใหญ่ยังเป็นวิธีการที่ไม่ค่อยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เด่นชัดมากที่สุดของการผลิต ผ้าฝ้าย นั้นก็คือ การใช้สารเคมีทางการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี นอกจากนั้นยังมีผลกระทบที่เกี่ยวกับน้ำ เพราะกระบวนการในการปลูกฝ้ายนั้นใช้น้ำปริมาณมาก จนทำให้พื้นที่ของหลายประเทศขาดแคลนน้ำ อีกทั้งการผันน้ำที่ใช้ในการเกษตรสำหรับปลูกฝ้ายโดยใช้ยาฆ่าแมลง จะไหลลงสู่แม่น้ำหรือทะเลของประเทศนั้น เช่น ทะเลอารัลในเอเชียกลาง, สามเหลี่ยมปากแม่น้ำสินธุในปากีสถาน หรือแม่น้ำเมอร์เรย์ดาร์ลิงในออสเตรเลีย เป็นต้น

การปลูกฝ้ายและการผลิตผ้าฝ้าย” ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง?

ผลกระทบในสิ่งแวดล้อมทางน้ำ : การปลูกฝ้ายยังต้องใช้น้ำปริมาณมากประมาณ 2,700 ลิตรในการผลิตเสื้อยืดเพียงตัวเดียว และนั่นเป็นปริมาณของน้ำที่เพียงพอเพื่อใช้ดื่มสำหรับคนหนึ่งคนเป็นเวลานานถึง 2 ปีครึ่ง นอกจากนั้นการย้อม ผ้าฝ้าย ยังต้องใช้นำ้ประมาณ 5 ล้านล้านลิตรต่อปีทั่วโลก…ทะเลอารัลในเอเชียกลางต้องเผชิญกับวิกฤตที่ทำให้แหล่งน้ำหมดไปเกือบ 10% ของปริมาณเดิม จน World Economic Forum ระบุว่าการขาดแคลนน้ำเป็นหนึ่งในปัญหา 10 อันดับแรกที่โลกอาจเผชิญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ผลกระทบของมลพิษในอากาศและน้ำ : เพราะการเพาะปลูกฝ้ายแบบดั้งเดิมนั้น มีการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงในปริมาณมาก สารเคมีเหล่านี้ส่งผลให้คุณภาพของดินและน้ำ ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศน์ทางน้ำและอากาศเสื่อมโทรมลง รวมถึงการสะสมของตะกอนที่ปนเปื้อนสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำและทะเล ตลอดจนสุขภาพของคนงานในไร่และประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง

ผลกระทบของคุณภาพดิน : การปลูกฝ้ายทำให้คุณภาพดินเสื่อมโทรมลงอย่างมากในหลายพื้นที่ ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการพังทลายของหน้าดิน การขยายตัวของพื้นที่ต่างๆ ในการทำไร่ฝ้ายทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าโดยตรงและยังทำให้สูญเสียที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอีกด้วย

ฉะนั้น WWF หรือ World Wide Fund for Nature ซึ่งเป็นองค์กรอนุรักษ์ความเป็นป่าและการลดผลกระทบของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมชั้นนำของโลก จึงได้ร่วมกับ IKEA ทำโครงการนำร่องเพื่อส่งเสริมวิธีการปลูกฝ้ายที่ดีขึ้น ที่มีชื่อว่า Better Cotton Initiative เพื่อเป้าหมายสำคัญคือการผลิตฝ้ายหรือ ผ้าฝ้าย ให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้ฝ้ายอย่างยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ โดย WWF เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืน เพื่อลดความเสียหายต่อระบบน้ำจืดและใช้เทคโนโลยีการชลประทานขั้นสูง รวมถึงหาวิธีการปลูกฝ้ายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยทำงานร่วมกับเกษตรกร หน่วยงานรัฐบาล ผู้ซื้อ และเจ้าของกิจการร้านขายเสื้อผ้า เพื่อร่วมกันส่งเสริมฝ้ายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและถูกหลักจริยธรรมมากขึ้น หนึ่งในนั้นมีการสนับสนุนหลักจาก IKEA เป็นอย่างดีจึงประสบความสำเร็จในทันทีที่เริ่มโครงการ

WWF และ IKEA ทำงานร่วมกันในอินเดียและปากีสถานเพื่อปรับปรุงการดำรงชีวิตและสุขภาพของชาวไร่ฝ้าย เพื่อสร้างเกษตรกรตามเกณฑ์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของ BCI (Better Cotton Initiative) การฝึกปฏิบัติจริง เริ่มต้นจากโรงเรียนชาวนาในปี ค.ศ. 2005 พร้อมเกษตรกร 500 ราย ได้รับการอบรมและสนับสนุนแนะนำการทำไร่ฝ้ายที่ลดการใช้สารเคมีและน้ำ ได้เรียนรู้การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และต่อสู้กับศัตรูพืชได้อย่างปลอดภัย พร้อมการใช้น้ำที่น้อยลงแต่ยังสามารถรักษาผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้พวกเขาได้ด้วย

หลังจากนั้นไม่นาน โครงการ Better Cotton Initiative นี้สามารถช่วยให้เกษตรกรที่เพาะปลูกฝ้าย ลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชลงร้อยละ 47 และปุ๋ยเคมีลงร้อยละ 39 ในพื้นที่กว่า 300,000 เฮกตาร์ในปี 2012 ขณะที่ผลผลิตที่ก็ได้ดีพอๆ กับวิธีการเดิม อีกทั้งยังสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับเกษตรกรที่ยังคงใช้วิธีปฏิบัติแบบเดิม จนเกษตรกรหลายพันคนในอินเดียและปากีสถานเลือกใช้แนวทางปฏิบัติที่ดีกว่านี้อย่างทั่วถึงกัน

ในปี 2014 ปากีสถานเป็นผู้ผลิตฝ้ายหรือ ผ้าฝ้าย รายใหญ่อันดับสี่ของโลกรองจากจีน อินเดีย และ สหรัฐอเมริกาเกษตรกรประมาณ 38,000 รายในรัฐปัญจาบมีส่วนร่วมกับโครงการ BCI นี้ ช่วยก่อตั้งและสนับสนุนผู้ผลิต องค์กรและเกษตรกรในการผลิต Better Cotton จึงทำให้ในปีนั้นสามารถใช้สารออกฤทธิ์จากยาฆ่าแมลงน้อยลง 18%, ใช้ปุ๋ยเคมีน้อยลง 19%และน้ำน้อยลง 20% แต่อัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้น 29%

ในปีเดียวกันนี่เอง ที่อินเดียเองก็มีเกษตรกรประมาณ 6,000 ราย เข้าร่วมโครงการ Better Cotton Initiative ในรัฐมหาราษฏระ เพื่อผลิตฝ้ายที่ดีกว่า ผลลัพธ์ที่ได้คือ สามารถใช้ยาฆ่าแมลงน้อยลง 49%, ใช้ปุ๋ยเคมีน้อยลง 27%, ใช้น้ำน้อยลง 9% และมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้น 26% และในปี 2018 ถึงปี 2019 Better Cotton Initiative หรือ BCI ได้มีการอนุมัติใบอนุญาตให้เกษตรกรกว่า 2 ล้านรายจาก 23 ประเทศ ใน 5 ทวีป ด้วยสิ่งนี้สามารถทำให้เกษตรกรผลิตฝ้ายได้เป็น 22% ของโลก

มุมมองของ IKEA ที่มีต่อการผลิตฝ้ายในโครงการ BCI

ความจริงแล้วมีผลิตภัณฑ์มากมายของอิเกียที่ใช้สิ่งทอ และ ผ้าฝ้าย ก็เป็นหนึ่งในนั้น เช่น โซฟา เบาะรองนั่ง ไปจนถึงผ้าปูที่นอนและผ้าม่าน โดยในแต่ละปีอิเกียใช้ฝ้ายประมาณร้อยละ 0.7 ของฝ้ายที่ปลูกทั่วโลก แม้ว่าจะดูเหมือนไม่เยอะแต่อิเกียก็พร้อมจะเป็นส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกของอุตสาหกรรมฝ้ายทั่วโลก และมากกว่าสิบปีที่ WWF และ IKEA ได้ดำเนินโครงการต่างๆ มากมาย เพื่อปรับปรุงสภาพการทำงาน สำหรับผู้ที่ทำงานกับฝ้ายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นับตั้งแต่ 1 กันยายน 2015 เป็นต้นมา ผลิตภัณฑ์ของอิเกียที่เป็นฝ้ายทั้งหมดมาจากแหล่งที่เข้าร่วมโครงการ Better Cotton Initiative โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการผลิตในอุตสาหกรรมฝ้ายทั่วโลกที่ยั่งยืนและดียิ่งขึ้น

นอกจากนั้นในปี 2020 แบรนด์แฟชั่นชั้นนำอย่าง DIESEL ก็ได้ประกาศถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับ Better Cotton Initiative หรือ BCI เพื่อส่งไอเท็มรักษ์โลกผ่าน T-Shirt คอลเล็กชั่นพิเศษ ที่ผลิตจาก ผ้าฝ้าย ที่อยู่ในโครงการนี้ พร้อมข้อความสกรีนคำว่า ‘Successfull Living’ นอกจากนั้นใน 2025 แบรนด์ DIESEL ยังมุ่งมั่นที่จะจัดหาฝ้ายที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้นอย่างน้อย 50% รวมถึงผ้าฝ้ายรีไซเคิลและผ้าฝ้ายออร์แกนิก (Better Cotton) ผ่านกลยุทธ์ “For Responsible Living” เพื่อมุ่งเน้นประโยชน์ต่อสังคมในปัจจุบันและอนาคต

สำหรับ Thai Cotton นั้น บริษัท ด๊อบบี้เท็กซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด ก็มี ผ้าฝ้าย คุณภาพดีให้คุณเลือกใช้มากมาย ทั้ง ผ้าฝ้าย 100, ผ้าฝ้ายพื้นเมือง หรือผ้าฝ้ายกบ ภายใต้เเบรนด์ DOBBYTEX ที่ได้รับความไว้วางจากร้านขายผ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย

สั่งซื้อผ้าฝ้าย-ปรึกษาได้ที่ :
โทร : 095-6098163, 065-0564299, 081-1714553
Line ID : @Dobbytexfabric
WhatsApp : (+66) 847269009
Email : Dobbytexfabric@gmail.com
Website : www.dobbytexfabric.com

Tag


สั่งซื้อผ้าฝ้าย-ปรึกษาได้ที่

เบอร์โทรติดต่อ

ช่องทางออนไลน์

บทความอื่นๆจากเรา

ดูทั้งหมด