เสน่ห์ของศิลปะการทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองของไทยในอดีตและปัจจุบัน

13 มีนาคม 2023
DOBBYTEX ADMIN

ผ้าฝ้ายพื้นเมือง ศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า

ในปัจจุบันการทอผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป จะด้วยเพราะเทคโนโลยีสิ่งทอที่ก้าวหน้าจนสามารถผลิตเส้นใยสังเคราะห์ได้มากกมาย รวมถึงการผลิตลวยลายได้สวยงามและรวดเร็วในจำนวนมากได้ หรือคนรุ่นใหม่ๆ สนใจอาชีพอื่นนอกเหนือจากการทอ ผ้าฝ้ายพื้นเมือง ของตนเองไว้ซื้อขายเป็นอาชีพที่สืบต่อจากบรรพบุรุษ ก็ล้วนเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ผ้าทอพื้นเมืองเริ่มหายากและจะต้องเริ่มมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาให้คงอยู่เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย

โดยมีโครงการสำคัญสำหรับผ้าพื้นเมืองของไทย ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสนพระราชหฤทัยผ้าพื้นเมืองเกือบทุกประเภทอย่างแท้จริง ต่อเนื่องมากว่า ๒๐ ปี จึงทำการจัดตั้งมูลนิธิศิลปาชีพ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ขึ้น เพื่อส่งเสริมการทอผ้าของชาวบ้านในชนบท ทั้ง ผ้าฝ้ายพื้นเมือง และการทอผ้าไหม โดยพระองค์ทรงเป็นผู้นำในการใช้ผ้าพื้นเมืองของไทย ในชีวิตประจำวัน และในงานพระราชพิธีต่างๆ อีกทั้งยังทรงนำผ้าไทยไปเผยแพร่ในต่างประเทศ

สเน่ห์ของศิลปะการทอผ้าฝ้ายพื้นเมือง ของไทยทั้ง 4 ภาค

  1. ศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองภาคเหนือ : การทอ ผ้าฝ้ายพื้นเมือง และการทอผ้าไหมในปัจจุบันนี้จะมีมากในจังหวัดเชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน โดยศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองของผ้าเหนือหรือล้านนา สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่คือ

    • กลุ่มไทยวนหรือโยนก ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง ซึ่งแต่เดิมเรียกว่าชนกลุ่มลางพุงดำ จะมีศิลปะวัฒนธรรมของตนเองคือนิยมสักลายตามบริเวณ ต้นขาและหน้าท้อง

    • กลุ่มไทลื้อ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณจังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยาและน่าน ซึ่งนับเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมของล้านนาไทย การทอผ้าพื้นเมืองที่มีลวดลายสืบทอดกันมา อย่างเช่นการทอซิ่น, ตีนจก, ผ้าขิด และผ้าที่ใช้เทคนิค “เกาะ” เป็นต้น

    ด้วยการทอ ผ้าฝ้ายพื้นเมือง และการทอผ้าไหมพื้นบ้านของทั้งสองถิ่นทางภาคเหนือนั้น ไม่ว่าจะเป็นครื่องนุ่งห่ม เครื่องนอน และเครื่องบูชาตามคติความเชื่อที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะผ้าซิ่นนั้นจะมี 3 ส่วนที่สำคัญคือ

    • หัวซิ่น คือส่วนที่อยู่ติดกับเอว มักใช้ผ้าพื้นสีขาว สีแดงหรือสีดำต่อกับตัวซิ่น เพื่อให้ซิ่นยาวพอดีกับความสูงของผู้นุ่ง และใช้เป็นชายพกสำหรับขมวดเหน็บเอว

    • ตัวซิ่น คือส่วนกลางของซิ่น กว้างตามความกว้างของฟืม ทำให้ลายผ้าขวางลำตัว มักทอเป็นริ้วๆ หลากสี หรือทอยกเป็นตาสี่เหลี่ยมและทอเป็นลายเล็กๆ

    • ตีนซิ่น คือส่วนล่างสุด นิยมใช้เป็นสีแดง สีดำ หากทอเป็นลายจก จะเรียกว่า ซิ่นตีนจก ซึ่งชาวไทยวนจะนิยมทอตีนจกแคบ เช่น ซิ่นตีนจก แม่แจ่ม บริเวณอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และมักทอลายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดอยู่ตรงกลาง และมีเชิงล่างสุดเป็นสีแดง ส่วนซิ่นตีนจกสำหรับคหบดีหรือเจ้านาย มักสอดดิ้นเงินหรือดิ้นทองให้สวยงามและบ่งบอกฐานันดรศักดิ์ได้จากผ้าซิ่น นั่นเอง

  2. ศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองภาคใต้ : การทอผ้าพื้นเมืองของภาคใต้มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงธนบุรี โดยใช้ผ้าทอยกสำหรับใช้ในหมู่เจ้าเมืองและกรมการเมืองชั้นสูง ก่อนการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป โดยการทอ ผ้าฝ้ายพื้นเมือง ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “ผ้ายกเมืองนคร” เป็นผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผ้าที่ได้รับการยกย่องมาแต่โบราณว่าสวยงาม มีกระบวนการทอคล้ายการทอผ้าขิดหรือผ้าจก แต่ต่างกันที่บางครั้งผ้ายกจะทอเป็นลายพิเศษ คือตะกอเขาลอยยกดอกแยกเส้น

    นอกจากนั้น ภาคใต้ยังมีแหล่งทอผ้าที่ได้รับอิทธิพลจากชาวมุสลิม ชาวอาหรับ คือ ทอผ้ายกดิ้นเงินดิ้นทอง เป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงของอาณาจักรไทย จึงทำให้บรรดาพวกเจ้าเมืองและข้าราชการหัวเมืองภาคใต้ จึงสนับสนุนให้ชาวบ้านทอกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะที่เมืองนครศรีธรรมราช, เมืองสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ล้วนเคยเป็นแหล่งทอผ้ายกที่มีชื่อเสียงมากในอดีต นอกจากผ้ายกดิ้นเงินดิ้นทองแล้ว ก็มีการทอผ้าพื้นเมืองใช้กัน เช่น ทอผ้าขาวม้า, การทอ ผ้าฝ้ายพื้นเมือง อย่าง ผ้าฝ้ายยกดอก, ผ้าหางกระรอก, ผ้าโสร่ง เป็นต้น

  3. ศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองภาคกลาง : ผ้าทอตามกรรมวิธีพื้นบ้านในบริเวณภาคกลางในอดีตนั้น กลุ่มชาติพันธุ์ไทที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามถิ่นต่างๆ ในภาคกลางได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ไทพวน, กลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนและ กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันเชื่อวายของกลุ่มคนเหล่านี้จะอยู่ที่จังหวัด เช่น จังหวัดพิษณุโลก, พิจิตร, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, อุทัยธานี, ชัยนาท, สุพรรณบุรี, สระบุรี, ลพบุรี, นครปฐม, ราชบุรี และเพชรบุรี ฯลฯ โดยยังมีการยังรักษาวัฒนธรรม และเอกลักษณ์การทอผ้าเฉพาะถิ่นไว้ได้ เช่น การทำตีนจกและขิด เหมือนกับภาคเหนือ แต่ก็มีลักษณะของลวดลายและสีสันแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

    • ผ้าซิ่นตีนจกบ้านหาดเสี้ยว เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นชนิดหนึ่ง คือเป็นการทอ ผ้าฝ้ายพื้นเมือง หรือฝ้ายสลับไหมเป็นลายขวางลำตัว มีเชิงเป็นลวดลายซึ่งทอด้วยวิธีจก จึงเรียก ซิ่นตีนจก นิยมทอด้วยการคว่ำผ้าลง ลายที่ทอมักเป็นลายเรขาคณิตเป็นหลัก และมีเรียกชื่อลายแตกต่างกัน เช่น ลายสิบหกดอกตัด, ลายแปดขอ, ลายสี่ดอกตัด, ลายเครือใหญ่หรือเครือน้อย มักเป็นลายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีลายเล็กๆ ย่อซ้อนอยู่ภายใน การสลับลายใช้การเรียงซ้อนกัน คั่นด้วยหน้ากระดานเป็นชั้นๆ โดยใช้สีแดงอมส้ม สีน้ำตาลปนเหลือง เป็นต้น

    • ผ้าซิ่นตีนจกบ้านไร่ผ้า เป็นผ้าพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทพวนที่มีลักษณะพิเศษคือ เป็น ผ้าฝ้ายพื้นเมือง ทอสลับกับไหมพรม นิยมทอหน้าแคบแล้วเพลาะสองผืนรวมกันเป็นผืนเดียว เชิงผ้าจะทอสีขาวแล้วคั่นลายจกด้วยไหมพรมสีสดๆ เป็นแถบเล็กๆ สลับกับพื้นขาว 2 – 3 ช่อง กลางผืนมักทอด้วยลายขิดไปจนเต็มผืน หรือทอเป็นริ้วปิดทั้งซ้ายและขวา ลวดลายของเชิงผ้าอาจจะไม่เหมือนกันทั้งสองข้าง หรือบางครั้งมักปล่อยเป็นชายครุยเพื่อความสวยงาม

  4. ศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองภาคอีสาน : เป็นอีกภาคที่มีการทอผ้าพื้นเมืองที่กระจายอยู่ในภูมิภาคเยอะพอๆ กับภาคเหนือ ซึ่งแต่เดิมชาวอีสานมีสังคมแบบเกษตรกรรมคือการทำนา ยามว่างจากงานในนา ผู้หญิงจะทอผ้าผู้ชายก็จักสาน ดังนั้นการทอผ้าจึง เป็นงานสำคัญของผู้หญิง ผ้าที่ทอจะใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มและเครื่องนอน รวมถึงเครื่องใช้ที่จะถวายพระในงานบุญประเพณีต่างๆ

    โดยภาคอีสานมีวัฒนธรรมการทอ ผ้าฝ้ายพื้นเมือง ที่มีลักษณะและลวดลายการทอผ้าเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะผ้ามัดหมี่ ผ้าขิต และผ้าไหมหางกระรอก และมีกระบวนการทอผ้าเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงไหม ปลูกหม่อน ปลูกฝ้ายสำหรับทอผ้า และเริ่มลงมือทอ ซึ่งมีประเพณีอย่างหนึ่งเรียกว่า “ลงข่วง” ซึ่งผ้าพื้นเมืองที่มีส่วนผสมจากฝ้าย จะมีอยู่ 2 ประเภทคือ

    • ผ้าหางกระรอก เป็นผ้าทอโบราณที่มีลักษณะลวดลายเรียบง่าย แต่แฝงด้วยความประณีตและงดงาม มีเทคนิคการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าไท คือ “การควบเส้น” หรือคนไทยเรียกว่า “ผ้าหางกระรอก” โดยการนำเส้นพุ่งพิเศษ ใช้เส้นไหมหรือเส้นฝ้าย 2 เส้น 2 สี มาตีเกลียวควบเข้าด้วยกันให้เป็นเส้นเดียว ที่เรียกว่า เส้นลูกลาย หรือ ไหมลูกลาย หรือเส้นหางกระรอก พบมากในจังหวัดนครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

    • ผ้าซิ่นทิว มีการทำด้วยเส้นไหมหรือเส้นฝ้าย เพื่อทอ ผ้าฝ้ายพื้นเมือง หรือบางครั้งเส้นยืนเป็นเส้นไหมแต่ใช้เส้นฝ้ายทอเป็นเส้นพุ่ง ซิ่นทิวมีเอกลักษณ์ป็นของตัวเอง เพราะเป็นผ้าซิ่นลายขวางทางยืนที่มีช่วงลายสม่ำเสมอเป็นช่วงๆ โดยผู้ทอจะต้องมีความจำที่แม่นยำในการนับเส้นไหมหรือฝ้ายตามแบบลายผ้าซิ่นทิว โดยลายของผ้าซิ่นทิวจะมี 3 สีรวมมัดหมี่เป็นสีที่ 4 เท่านั้น เช่น สีแดงได้จากครั่ง สีดำได้จากมะเกลือ สีเขียวได้จากใบสมอ เป็นต้น

และนี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในสเน่ห์ของศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองของไทย 4 ภาค ในอดีตและปัจจุบัน ที่มีความสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะและแฝงไปด้วยวิถีชีวิตของคนแต่ละพื้นถิ่นในอดีตที่ส่งผ่านเล่าเรื่องมายังปัจจุบัน หากคุณกำลังมองหา ผ้าฝ้ายพื้นเมือง, ผ้าชินมัย, ผ้าฝ้ายสาลู, ผ้าฝ้ายกบ หรือผ้าฝ้าย 100 บริษัท ด๊อบบี้เท็กซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด เราเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผ้าฝ้ายมามากกว่า 20 ปี ใต้เเบรนด์ DOBBYTEX ที่ได้รับความไว้วางจากร้านขายผ้าทั้งในและต่างประเทศ

สั่งซื้อผ้าฝ้ายพื้นเมือง-ปรึกษาได้ที่ :
โทร : 095-6098163, 065-0564299, 081-1714553
Line ID : @Dobbytexfabric
WhatsApp : (+66) 847269009
Email : Dobbytexfabric@gmail.com
Website : www.dobbytexfabric.com

Tag


สั่งซื้อผ้าฝ้าย-ปรึกษาได้ที่

เบอร์โทรติดต่อ

ช่องทางออนไลน์

บทความอื่นๆจากเรา

ดูทั้งหมด